Cloud Computing เป็นประโยชน์กับองค์กรอย่างไร?

Cloud Computing

Cloud Computing เป็นประโยชน์กับองค์กรอย่างไร?

Cloud Computing

ในช่วงโควิด-19 หรือ ยุคที่เกิด ‘New Normal’ แบบนี้ หลายๆ องค์กรก็ต้องมีการหาโซลูชันการทำงานที่คล่องตัว สามารถทำงานจากที่ไหนก็ได้และการควบคุมการทำงานที่ง่ายดาย 

‘Cloud Computing’ กลายเป็นทางออกของเทคโนโลยีในการแก้ไขปัญหาการทำงานแบบเดิมๆ และปรับให้การทำงานคล่องตัว สามารถเข้าถึงได้ทุกที่ ทุกเวลา และมีทรัพยากรด้าน IT ที่ยืดหยุ่น 

พูดให้เข้าใจง่ายๆ สำหรับ ‘Cloud Computing’ ก็คือคอมพิวเตอร์ หรือ เซิร์ฟเวอร์ขนาดใหญ่ที่ผู้ใช้งานไม่ต้องสนใจว่า เซิร์ฟเวอร์จะตั้งอยู่ที่ไหน เพราะ สามารถใช้งานได้ทุกที่ ทุกเวลา เพียงเชื่อมต่อผ่านอินเทอร์เน็ต

คุณลักษณะที่ดีของ ‘Cloud Computing’ ก็คือ 

– สามารถควบคุมต้นทุนได้ (Manage Your Finance) 

– สามารถเข้าถึงได้จากทุกที่ ทุกเวลา และหลากหลายอุปกรณ์ (Go Mobile) 

– มีมาตรฐานด้านความปลอดภัยที่ควบคุมข้อมูลต่างๆ (Store It Up) 

– คนในองค์กรสามารถทำงานร่วมกันได้โดยไร้ข้อจำกัด รวมถึงยังเพิ่มช่องทางในการเข้าถึงลูกค้าได้ง่ายมากขึ้น (Share Information — Collaboration) 

– ระบบการทำงาน Information System ที่ไม่ซับซ้อน ไม่เป็นปัญหากับผู้ดูแลระบบ (Alleviate Complicated of Information System) 

ใครหลายๆ คน อาจจะรู้จัก ‘Cloud Computing’ กันมาบ้างแล้ว แต่ความหมายของมันกับสิ่งที่มันสามารถทำได้ ก็อาจเป็นคำถามในใจของใครหลายๆ คน โดย ‘Cloud Computing’ เป็นระบบที่ยืดหยุ่น สามารถทำงานได้อย่างหลากหลาย เช่น 

  1. Disaster Recovery-as-a-Service 

สิ่งแรกที่ Cloud Computing สามารถใช้ประโยชน์กับองค์กรได้ คือ การใช้งาน Cloud เป็น Workload ในการเก็บ Backup ข้อมูลทั้งหมด เมื่อระบบเกิดปัญหาขัดข้อง หรือ เกิดภัยพิบัติที่ไม่สามารถคาดคิดได้ อย่างในช่วงสถานการณ์โควิด-19 นี้ เมื่อเปรียบเทียบกับการทำ DR-site แบบ On-premise จะมีการลงทุน H/W, และ S/W ไว้ที่ site สำรองเพื่อทำงานทดเเทน ซึ่งมีความซับซ้อนในการสร้างระบบ DR-Site แบบ On-premise อย่างมาก 

Cloud Services จึงเป็นการทำ DR-site สำรองระบบการทำงานทั้งหมด ตั้งแต่แอปพลิเคชัน ข้อมูล และการทำงานไปที่ Site สำรอง โดยในปัจจุบัน cloud server thai ก็มีเสถียรภาพ ความปลอดภัย และความรวดเร็ว ทำให้ Cloud Computing สามารถเก็บรักษา Backup ข้อมูลทั้งหมดได้ รวมถึงมีรายจ่ายที่น้อยว่าการลงทุน DR-Site แบบ On-premise อีกด้วย 

  1. Infrastructure-as-a-Service 

ต่อมาประโยชน์ของ Cloud Computing เป็นการใช้งาน Workload ที่มีการใช้งานทรัพยากรขั้นสูง คือ Cloud Services สามารถที่จะรองรับการสร้าง instance cloud หรือ ทรัพยากร Compute, Network, Storage ที่ระบบComputerต้องการได้ โดย Cloud จะช่วยลดภาระด้านการบริหารจัดการ เช่น SLA, ทีมงานผู้เชี่ยวชาญ หรือ ระบบการดูแลไฟฟ้าและควบคุมอากาศ เป็นต้น 

นอกจาก Cloud Computing จะสามารถรองรับทรัพยากรที่องค์กรต้องการใช้งานได้ ยังมีฟีเจอร์และแอปพลิเคชันรองรับกับการใช้งาน เช่น VPC network ในการป้องกันเครือข่ายของระบบ, Image sharing ฟีเจอร์ลัดช่วยในการควบคุมทรัพยากร Cloud เป็นต้น รวมถึงแอปพลิเคชัน Laravel, Docker, Joomla, Mongodb, Magento, My SQL, LEMP เป็นต้น 

  1. Development and Test Environment 

สำหรับ Cloud Services มีFeatureที่พร้อมกับการทดสอบและพัฒนาสภาพแวดล้อมของ Application ในองค์กร รวมถึง Workload ในการทำงานแบบอัตโนมัติก็สามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่องอีกด้วย งานวิจัยล่าสุดจาก Voke พบว่า สภาพแวดล้อม (Environment) ของระบบ IT ในองค์กรมีผลอย่างมากต่อการพัฒนา Application โดยข้อจำกัดของระบบ On-Premise มีผลต่อความล่าช้าและการหยุดชะงักในการพัฒนาถึง 44% และมีผลต่อการทดสอบถึง 68% 

การสร้าง Environment ของระบบ IT บน Cloud Computing ที่มีความยืดหยุ่นและมีทรัพยากรที่เพรียบพร้อมมากกว่าจึงเป็นคำตอบในการพัฒนา Application ที่รวดเร็ว ลดความซับซ้อนขั้นตอนการเตรียมการได้ดีกว่านั่นเอง 

  1. Big Data Analytics 

Cloud Services สามารถช่วยองค์กรในการประมวลผลและวิเคราะห์ Big Data ได้รวดเร็วขึ้น โดยการนำข้อมูลเชิงลึกไปใช้ในการปรับปรุงธุรกิจได้ โดยทรัพยากรพื้นฐานที่มีอยู่บน Cloud มากมาย เช่น instance cloud, Image sharing รวมไปถึงระบบความปลอดภัยอย่าง VPC network ก็ช่วยให้การสร้าง Big Data มีความคล่องแคล่วขึ้นและประหยัดต้นทุน

  1. Application Development 

นักพัฒนา Application จะเข้าใจดีสำหรับการออกแบบ Application บนสภาพแวดล้อมที่ต้องการ ซึ่ง Cloud Services มีความยืนหยุ่นในการทำงานที่ดี ไม่ว่าจะเป็น Public Cloud หรือ Private Cloud ก็สามารถตอบโจทย์การออกแบบ การจัดการข้อมูล เครือข่ายของ Applacation หรือกระทั่งระบบSafetyต่างๆ Cloud Computing ก็สามารถสร้างการทำงานที่ตอบโจทย์การพัฒนา Application ได้ เช่น cognitive service, AI, backup/recovery, ChatBot เป็นต้น 

 

เปลี่ยนมาใช้ Cloud ไทย กับ Nipa.Cloud ได้เลยวันนี้! 

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ 

LINE : @NipaCloud

Website: https://www.nipa.cloud/ 

Facebook: https://www.facebook.com/nipacloud/ 

Inbox: https://www.messenger.com/t/nipacloud 

Email: sales@nipa.cloud 

Call: 02-107-8251 ต่อ 444

Cloud backup vs. off-site backup แบบไหนที่ใช่สำหรับคุณ?

Cloud Backup vs Off-Site Backup

Cloud backup vs. off-site backup แบบไหนที่ใช่สำหรับคุณ?  


Cloud Backup vs Off-Site Backup
ระบบการสำรองข้อมูลมีส่วนสำคัญ เพื่อป้องกันความเสี่ยงต่อความเสียหายของข้อมูลในกรณีต่างๆ เช่น ความเสี่ยงเรื่องอัคคีภัย และภัยพิบัติ โดยจะเป็นการสำรองข้อมูลภายนอกไซต์ขององค์กร ซึ่งโซลูชันการสำรองข้อมูลนั้นมีด้วยกัน 2 รูปแบบ คือ Off-site backup และ Cloud backup 
 

  

Off-site backup การสำรองข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ  

ปกติโดยทั่วไปแล้ว ถ้าพูดถึงการสำรองข้อมูลแบบ off-site backup จะหมายถึงการสำเนาข้อมูลที่เราสำรองไว้ยัง Hardware ต่างๆ เช่น เทป, Hard Disk หรือ Server ซึ่งประเด็นหลักอยู่ที่คุณสมบัติในการกู้คืนข้อมูล ในกรณีที่แหล่งข้อมูลดั้งเดิมที่เก็บไว้นั้นไม่สามารถใช้งานได้ ฉะนั้น การสำรองข้อมูลแบบ off-site backups จึงจัดได้ว่าเป็นการสำรองข้อมูลแบบ storage-oriented ที่มีประสิทธิภาพนั่นเอง  

 

Cloud backup การสำรองข้อมูลที่ปลอดภัย คล่องตัว และเพิ่มศักยภาพที่มากขึ้น  

ส่วนอีกวิธีหนึ่งคือ Cloud Backups ซึ่งเป็นบริการที่อยู่ในรูปแบบ ‘การนำข้อมูลของเราไปไว้ที่ไหนก็ได้’ ซึ่งบริการเหล่านี้ออกแบบมาเพื่อให้การซื้อ การเลือกการจัดเก็บ การรักษาความปลอดภัย และการดึงข้อมูลง่ายขึ้น และเพราะแบบนี้เอง Cloud Backups จึงถือได้ว่าจัดอยู่ในประเภท service-oriented  

  

เปรียบเทียบ Cloud backup vs. off-site backup แบบไหนที่ใช่สำหรับคุณ?  

แล้วการ Backup แบบไหนถึงเหมาะกับเราล่ะ? ถ้าหากคุณเกิดความรู้สึกสงสัยแบบนี้ ให้ลองตัดสินจากทั้ง 4 คำถามนี้ ที่จะช่วยให้คุณสามารถเลือกกลยุทธิ์ที่เหมาะสมได้  

  

อะไรที่คุณต้องการเป็นพิเศษ?  

บางทีองค์กรของคุณอาจจะมีเงื่อนไขบางอย่างที่เฉพาะเจาะจง อย่างเช่น การเข้ารหัสแบบ 448-bit ซึ่งในกรณีนี้ ผู้ให้บริการต่างๆ จะมีข้อเสนอต่างๆ ยื่นให้ แต่ก็เลือกได้ไม่มากเท่าไหร่ และอาจไม่ตรงตามกับที่คุณต้องการ ดังนั้น การใช้ off-site backup storage จะทำให้คุณสามารถควบคุมเอง เพื่อให้ตรงกับความต้องการมากที่สุด  

  

คุณจำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลือขนาดไหน?  

ถ้าหากคุณต้องการความช่วยเหลือที่จำเป็นต้องให้ผู้เชี่ยวชาญดูแล ไม่ว่าจะเป็นการสร้างและกำหนดค่าการสำรองข้อมูล หรือช่วยจัดการการกู้คืน การสำรองด้วยระบบ cloud hosting ก็น่าจะตรงกับความต้องการของคุณมากกว่า เนื่องจากมีผู้เชี่ยชาญด้าน Cloud Services ในการให้คำปรึกษา ดูแล และแก้ไขการใช้งานได้ตลอด 24×7 นั่นเอง  

  

ราคาไปด้วยกันกับทุนองค์กรหรือไม่?  

สำหรับระบบ cloud hosting จะมีความยืดหยุ่นที่มากกว่า off-site เนื่องจากผู้ใช้งานสามารถเลือกใช้ได้ตามความต้องการ การใช้งานจริง หรือเป็นบริการแบบรายเดือน (มีทั้งรายชั่วโมง, รายวัน, รายเดือน) ตลอดจนการใช้งานที่เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ใช้งาน ที่เรียกว่า ‘Private Cloud’ แต่สำหรับ off-site ผู้ใช้งานจะต้องลงทุนกับอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์เอง รวมถึงการดูแลรักษา และเรียนรู้การใช้งานเองอีกด้วย  

  

แบบไหนปกป้องข้อมูลได้ดีที่สุด?  

ในข้อนี้สามารถเปรียบได้ประมาณว่า ‘จะซื้อ หรือจะสร้าง’ คุณสามารถสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีที่สุดต่อการป้องกันข้อมูล ได้ด้วยตัวเองหรือไม่ หรือว่าคุณควรจะไปใช้บริการของผู้ให้บริการ cloud hosting ดีกว่า? พอถามคำถามนี้ ก็อยากให้วนกลับไปที่คำถามแรก ถ้าหากว่าความต้องการหรือเงื่อนไขของคุณค่อนข้างเรียบง่าย ไม่มีอะไรมาก ก็ตรงดิ่งไปที่  Cloud Backup ได้เลย  

  

จากคำถามทั้ง 4 ข้อนี้ ไม่มีผิด ไม่มีถูก มีแต่ว่าตรงหรือไม่ตรง คุ้มหรือไม่คุ้ม สะดวกหรือไม่สะดวก ฉะนั้น คนที่สามารถเลือกรูปแบบการสำรองข้อมูลได้ดีที่สุด ก็คือตัวคุณและคนในองค์กรของคุณเอง  

Data Science กับการเปลี่ยนข้อมูลให้เป็นมูลค่าบน Cloud Server

data science

Data Science กับการเปลี่ยนข้อมูลให้เป็นมูลค่าบน Cloud Server

data science

 

‘Data Science’ หรือ ‘วิทยาศาสตร์ข้อมูล’ เป็นวิธีการที่ใช้รวบรวมข้อมูลเชิงลึกจากทั้ง ข้อมูลที่มีโครงสร้าง และข้อมูลที่ไม่มีโครงสร้าง ที่มีอยู่ภายในฐานข้อมูลขององค์กร โดยนำข้อมูลมาวิเคราะห์สถิติ ไปจนถึงกระบวนการ Machine Learning บน Cloud Server ซึ่งในองค์กรส่วนใหญ่แล้ว ‘Data Scientist’ หรือ ‘นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล’ นั้น ทำงานเพื่อเปลี่ยนข้อมูลให้เป็นมูลค่า เพื่อเพิ่มรายได้ พร้อมๆ กับลดต้นทุน เพิ่มความไหลลื่นทางธุรกิจ และช่วยพัฒนาประสบการณ์ของลูกค้าผ่านการทำงานบน Cloud Server นั่นเอง

Data Scientist ทำงานอย่างไร?

หลายๆ องค์กรที่ให้ความสนใจกับเทคโนโลยี ‘Big Data’ แน่นอนว่าต้องมีคนที่เข้ามาดูแลนั่นคือ ‘นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล’ หรือ ‘Data Scientist’ ซึ่งต้องทำหน้าที่ควบคู่กับการทำงานของอีก 2 ฝ่าย คือ ‘Data Analyst’ และ ‘Data engineers’ โดยทั้ง 3 ฝ่ายมีหน้าที่ในการจัดการข้อมูล ดังนี้

– Data Scientist คือ ออกแบบโมเดลจากข้อมูล เพื่อหาช่องทางใหม่ๆ ให้องค์กร

– Data Analyst คือ วิเคราะห์และออกแบบการนำเสนอข้อมูล เพื่อแก้ไขปัญหาส่งต่างๆ ในองค์กร

– Data Engineers คือ ออกแบบช่องทางของข้อมูล วิธีการจัดเก็บ และการใช้งาน

Data Scientist vs. Data Analyst

ทั้งสองหน้าที่จะทำหน้าที่ใกล้ชิดกัน โดยที่นักวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analyst) จะอยู่ในวิทยาศาสตร์ข้อมูลอีกทีหนึ่ง และทั้งสองต้องรับรู้ตรงกันว่าข้อมูลขององค์กรนั้นเป็นอย่างไร ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Scientist) ก็จะดึงผลลัพธ์จากนักวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analyst) มาเพื่อทำการแก้ปัญหาอีกต่อหนึ่งนั่นเอง

Data Science vs. Big Data

ทั้งวิทยาศาตร์ข้อมูล (Data Science) และ Big Data ล้วนเป็นของคู่กัน แต่วิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Science) นั้นใช้เพื่อดึงมูลค่าจากข้อมูลทุกๆ ขนาด ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลที่มีโครงสร้าง ไม่มีโครงสร้าง หรือกึ่งมีโครงสร้าง ซึ่ง Big Data นั้น มีประโยชน์แก่นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Science) ในหลายเหตุการณ์มากๆ เพราะว่า ยิ่งมีข้อมูลมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งรวมพารามิเตอร์เข้ารูปแบบที่กำหนดไว้ได้มากเท่านั้น

Data Scientist teams

วิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Science) เป็นงานที่ต้องการทีมที่มีความเป็นระเบียบ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Scientist) ถือเป็นแกนหลักของทีมวิทยาศาตร์ข้อมูล ที่จะทำให้เดินหน้าจากข้อมูลไปยังการวิเคราะห์ และจากนั้นก็ทำการเปลี่ยนข้อมูลที่วิเคราะห์ ไปยังส่วนการผลิตที่เพิ่มมูลค่า ซึ่งต้องอาศัยทักษะและบทบาทหนักมาก  ตัวอย่างเช่น นักวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analyst) ควรจะเข้ามาช่วยตรวจสอบข้อมูล ก่อนที่จะทำการนำเสนอให้กับทีม และพยายามรักษารูปแบบข้อมูลไว้ให้เหมือนเดิม ส่วนนักวิศวกรรมข้อมูล (Data engineer) เป็นหน่วยงานที่จำเป็นต่อการสร้างท่อลำเลียงข้อมูล เพื่อทำการตกแต่งเซ็ตข้อมูล ให้สามารถใช้กับส่วนอื่นๆ ของบริษัทได้

องค์ประกอบในการทำ วิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Science)

  1. Data Processing & cleaning
    ขั้นตอนการจัดแบ่งและจัดเตรียมข้อมูลโดยรวม ด้วยการจัดการกับชนิดของชุดข้อมูลที่แตกต่างกัน และนำไปสู่การวิเคราะห์หรือการสร้างแบบจำลองในที่สุด
  2. Analysis & Modelling
    การวิเคราะห์และทำความเข้าใจกับข้อมูลอย่างลึกซึ้ง ในแง่ของสถิติและคณิตศาสตร์ เพื่อสร้างและใช้โมเดล Machine Learning เชิงวิเคราะห์หรือทำนายที่หลากหลาย
  3. Programming languages
    วิทยาศาสตร์ข้อมูลต้องการการทดสอบหลายรูปแบบและการปรับให้เหมาะสม พร้อมกับการสร้างภาพข้อมูล เพื่อดึงข้อมูลเชิงลึกที่ถูกต้องทำการอนุมานทำนายหรือการตัดสินใจ
  4. การจัดการข้อมูล
    อัลกอริธึมและการผลิตขององค์กรต้องมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม เพื่อจัดเก็บข้อมูลโดยการเซ็ตค่าเครื่องที่เหมาะสม และให้ระบบสามารถทำงานในสคริปต์ที่กำหนดไว้
  5. รูปแบบการตรวจสอบและความรู้เกี่ยวกับโดเมน
    การจัดรูปแบบข้อมูล โดยมองหารูปแบบและสำรองข้อมูลจากการวิเคราะห์และตรวจสอบทุกขั้นตอน เพื่อให้เหมาะสมกับความต้องการของอุตสาหกรรม สิ่งนี้เป็นทักษะที่สำคัญของ นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Scientist)
  6. Communication & Visualisation
    การสื่อสารเป็นทักษะที่สำคัญสำหรับ นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Scientist) ในการสื่อสารแบบจำลองหรือการคาดการณ์ที่พวกสร้างขึ้นมา กับฝ่ายงานที่เกี่ยวของ เพื่อบรรลุเป้าหมายที่วางเอาไว้
  7. Open Source Community
    วิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Science) มักจะสร้างขึ้นด้วยเครื่องมือ Open Source ดังนั้นการเรียนรู้และทำความรู้จักการทำงานของระบบเหล่านี้ เพื่อสนับสนุนการทำงานของระบบ

ความน่าสนใจของวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Science)

ความน่าสนใจของวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Science) ขึ้นอยู่กับความจำเป็นขององค์กรนั้นๆ วิทยาศาสตร์ข้อมูลอาจช่วยองค์กรสร้างเครื่องมือต่างๆ ที่ไว้ใช้ทำนายความล้มเหลวของฮาร์ดแวร์ หรือช่วยให้องค์กรสามารถบำรุงรักษาและป้องกันการ Downtime ที่ไม่ได้วางแผนไว้ได้ และยังสามารถช่วยคาดการณ์ได้ว่าเราควรวางผลิตภัณฑ์ ไว้บนเชลฟ์ของห้าง หรือคาดได้ว่า ด้วยรูปลักษณ์และลักษณะของผลิตภัณฑ์นั้น จะมีความนิยมเป็นอย่างไร เป็นต้น

วิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Science) กำลังเปลี่ยนแปลงโฉมหน้าของอุตสาหกรรมต่างๆ อย่างรวดเร็วด้วยนวัตกรรมข้อมูลกลายเป็นฟังก์ชันหลักขององค์กร เช่น การขาย, การตลาด หรือ การออกแบบผลิตภัณฑ์ก็ตาม ในปัจจุบันล้วนต้องใช้ วิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Science) ในการทำงานทั้งสิ้น

ข้อมูลจาก Gemalto ระบุว่า ดัชนีความเชื่อมั่นด้านความปลอดภัยของข้อมูล ในปี 2018 พบว่า 89% ขององค์กรสามารถใช้งาน วิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Science) เพื่อให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขันทางธุรกิจ

สำหรับองค์กรที่สนใจการทำ ‘Big Data’ สร้างsolutionระบบการจัดการแหล่งเก็บข้อมูลดิบ (Raw data) ไว้ใน ทะเลสาบข้อมูล (Data Lake) รวมถึง โซลูชันการจัดการแหล่งเก็บข้อมูลใหม่ตามโครงสร้าง ที่เรียกว่า โกดังข้อมูล (Data Warehouse) เพื่อสร้างระบบสำหรับสกัดข้อมูล (Extract) ปรับแต่งโครงสร้างข้อมูล (Transform) และนำไปจัดเก็บ (Load) หรือ ETL จาก Data lake เข้าสู่ Data warehouse

 

เริ่มพัฒนาโซลูชัน ‘Big Data’ กับ Nipa.Cloud ได้เลยวันนี้!

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่

LINE : @NipaCloud

Website: https://www.nipa.cloud/

Facebook: https://www.facebook.com/nipacloud/

Inbox: https://www.messenger.com/t/nipacloud

Email: sales@nipa.cloud

Call: 02-107-8251 ต่อ 444

ทำไม Cloud ถึงมีแนวโน้มเติบโตขึ้นเรื่อยๆ

Cloud ไม่ใช่เทคโนโลยีใหม่ เพราะในปัจจุบันมีคนเริ่มรู้จัก และเข้าใจเรื่องเกี่ยว Cloud Computing กันมากขึ้นแล้ว ยิ่งเดี๋ยวนี้ Cloud เข้าใกล้ตัวเรามากขึ้น ทำให้ Cloud Computing มีแนวโน้มพัฒนา และเติบโตเรื่อยๆ โดยสาเหตุที่เป็นปัจจัยหลักของการทำให้ Cloud เติบโตอย่างทุกวันนี้และมีแนวโน้มจะเติบโตเรื่อยๆ ก็คือ ความเร็ว และระบบของ Internet นั่นเอง

โดยที่ความเร็ว และระบบของ Internet ถูกปรับให้มีความเร็วเพิ่มสูงขึ้น ดีขึ้นเรื่อยๆ และเมื่อก่อนเราต้องมี Server เป็นของตัวเอง เพื่อเข้าถึงฐานข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งเราก็สามารถปรับปรุงข้อมูลจากเครื่อข่ายต่างๆ ได้เอง แต่เดี๋ยวนี้ระบบ Internet ก็ได้พัฒนามาไกลมากแล้วจริงๆ จากเมื่อก่อนใช้สายลากต่อตามบ้าน หรือตามบริษัท องค์กร ปัจจุบันก็มีการพัฒนาระบบ Internet ไร้สายที่เราเล่นผ่านสมาร์ทโฟนทุกวันนี้เพิ่มขึ้นมาอีก นั่นทำให้เราสามารถเข้าถึง และจัดการข้อมูลต่างๆ ที่อยู่บนโลกนี้ได้อย่างสบายๆ เมื่อมองกลับมายังปัจจุบันระบบ Cloud  นั้นมันจะสามารถเข้ามาช่วยให้การทำงาน และการเข้าถึงข้อมูลของเราได้เร็วขึ้นแน่นอน เพราะข้อจำกัดต่างๆ ลดลง และการเชื่อมโยงโครงข่าย Internet เข้าถึงกันหมดแล้วนั่นเอง

หากใครมีความสนใจ อยากรู้เรื่อง Cloud Computing แบบละเอียดมากขึ้นทาง Nipa Cloud ได้มีการจัดอบรม Cloud ในหลักสูตร Cloud Computing Fundamentals อยู่นะคะ โดยการอบรม Cloud ครั้งนี้ เรามุ่งเน้นในการพัฒนามุมมองทางธุรกิจ และมีการให้ความรู้ ความเข้าใจพื้นฐานของ Cloud Computing และ OpenStack ด้วยนั่นเอง โดยสามารถเข้าไปดูรายละเอียดของหลักสูตรเพิ่มเติมได้ที่ https://training.nipa.cloud/cc101-2/ เลยนะคะ

5 ขั้นตอนง่ายๆ กับการส่ง Application เข้า Container

ทุกวันนี้ Container กำลังมาแรง และได้รับการตอบรับดีขึ้นเรื่อยๆ ในตลาดของ Cloud ซึ่งประกอบด้วย Docker เป็นตัวนำ ก็ถือได้ว่ามีคนใช้งานเป็นจำนวนไม่น้อย เป็นอันดับต้นๆเลยก็ว่าได้ ซึ่งเราก็มีขั้นตอนในการติดตั้ง Application ลง Container 5 ขั้นตอนมาฝาก

สำหรับผู้ที่จะทดลองใช้ Docker เพื่อให้รู้แนวทางการใช้งานคร่าวๆ ดังนี้

  1. แยกส่วน (Decompose)

โดยปกติ Application มักจะมีองค์ประกอบอยู่หลายส่วน โดยส่วนใหญ่ต้องพึ่งพาระบบ Database และ Middleware Service สำหรับ Data Storage, Retrieval และ Integration เพราะฉะนั้นต้องแตก Service เหล่านี้ออกมาใส่ไว้ใน Container แยกเอาไว้เป็นส่วนๆ ด้วยการ Design และ Deployment ซึ่งมีการกระจายตัวมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งเพิ่มความสามารถในการ Scale ได้มากขึ้นเท่านั้น ซึ่งนั่นหมายถึงความซับซ้อนในการบริหารจัดการก็จะมากขึ้นเช่นกัน

  1. เลือก Base Image

เราไม่ควรสร้างอะไรขึ้นมาในขณะที่ย้าย (Migrate) Application ควรจะหา Basic Docker Image จาก Docker Registry มาใช้เป็นพื้นฐานของ Application แทน โดยเมื่อเวลาผ่านไป หลายๆ องค์กรจะเริ่มเห็นค่าของ Docker Registry base Image ที่เพิ่มมากขึ้นเอง

  1. จัดการ Security และ Governance ให้เรียบร้อย

ความสำคัญของระบบ Security และ Governance ควรจะมาเป็นอันดับหนึ่ง ดังนั้นเราจึงไม่ควรที่จะละเลย และใส่เพิ่มลงใน Container ภายหลัง ซึ่งองค์กรจะต้องวางแผนระบบ Security และ Governance มาตั้งแต่แรก โดยออกแบบมันเข้าไปใน Application และจัดการให้เรียบร้อยในระหว่างอยู่ในขั้นตอน Operation เพื่อเป็นการรักษาความปลอดภัยให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด

  1. เพิ่ม Code

ในการสร้าง Image องค์กรต้องมีการใช้ Dockerfile ซึ่งนับว่าเป็นขั้นตอนจำเป็นของงานนี้ และเมื่อสร้างเสร็จแล้ว จึงสามารถเพิ่มเข้าไป Docker Hub ได้

  1. Configure, Test, Deploy

จะต้องมีการตั้งค่า (Configure) ตัว Application ที่รันอยู่ภายใน Container เพื่อให้เชื่อมต่อกับ Resource ภายนอก และ Container ตัวอื่นภายใน Application Cluster นั้นได้ โดยสามารถติดตั้งการตั้งค่าเหล่านี้ลงไปใน Container เลย หรือจะใช้ Environment Variable ก็ได้

แม้ว่าการขนย้าย Application ไป Container จะมีความซับซ้อนอยู่พอสมควร แต่เรียกได้ว่าบาง Application ที่ย้ายไปบน Cloud เหมาะสม จนเรียกได้ว่าเกิดมาเพื่อ Container เลยก็ว่าได้ ซึ่งประโยชน์ก็คือ ช่วยให้ Application มีอายุการใช้งานที่นานขึ้นนั่นเอง

Cloud bursting คืออะไร?

ปัจจุบันนี้แทบทุกองค์กรเริ่มมีการพัฒนาศักยภาพขององค์กรมากยิ่งขึ้น เพื่อหมุนตามโลกที่กำลังหมุนไป โดยการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้กับชีวิตเพิ่มขึ้น เพื่อความสะดวก ความเร็ว และเพียงพอต่อการใช้บริการ และเทคโนโลยีที่เป็นตัวช่วยที่ดีขององค์กรนั่นก็คือ Cloud Bursting ตัวช่วยให้องค์กร จัดการกับ Public Cloud ได้ตามที่ต้องการ

ซึ่งเราลองมาทำความรู้จักกับเทคโนโลยี Public Cloud ว่ามีความหมายว่าอย่างไร และสามารถนำมาช่วยให้องค์กรดีขึ้นได้อย่างไร Public Cloud เป็นกระบวนการถ่ายเท Workload ไปมาระหว่าง Private Cloud และ Public Cloud เป็นการตอบสนองต่อการใช้งาน Workload  ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาให้ระบบงานช่วยจัดการตัวระบบให้ไม่หนักจนเกินไป ตัวอย่าง ในเว็บไซต์มี Traffic จำนวนมากเกินไป ทำให้ตัวระบบมีข้อมูลที่หนักเกินไป จำเป็นต้องสร้าง Instance เพิ่มขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหา เราสามารถแก้ปัญหาด้วยการนำสถาปัตยกรรมแบบ Cloud Bursting มาใช้ให้ Workload เพื่อให้การทำงานเป็นไปได้อย่างราบรื่นและไม่หนักจนเกินไป

เมื่อทำความเข้าใจ Cloud Bursting ไปแล้ว อีสิ่งที่ต้องทำความเข้าใจก็คือ สถาปัตยกรรม Cloud Bursting คือ Private Cloud และ Public Cloud คือสิ่งใหม่ที่ต้องเรียนรู้ซึ่งสร้างความท้ามายไม่น้อย การใช้งานแบบนี้เราต้องคำนึงถึงสิ่งที่ตามมาด้วย นั่นก็คือผลกระทบจากการที่ Cloud ต้องประสบกับปัญหา Network Latency นอกจากนี้เราต้องคำนึงถึงค่าใช้จ่ายอีกด้วย จะเห็นได้ว่าในปัจจุบันมีการนำ Cloud Bursting มาใช้อย่างแพร่หลาย ทำให้องค์กรสามารถพัฒนาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการใช้งานนี้ก็ต้องศึกษาข้อมูลให้ละเอียดและเช็คความพร้อมของระบบให้ดี เพื่อป้องกันตัวเองและใช้ระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด

 

OpenStack ในสายตาผู้เชี่ยวชาญ 6 ปีที่ผ่านมาเป็นอย่างไร ?

หลังจากการเปิดตัวของ OpenStack ต้องบอกว่าได้รับกระแสการตอบรับที่ดีมาก แต่ว่าจำนวนคนที่นำไปใช้งานจริงๆ กลับน้อยกว่ามาก แล้วอะไรคือสาเหตุ ใช้งานยาก ? ยังไม่เหมาะ? หรือยังไม่สมบูรณ์? ถึงแม้ Rackspace และ NASA ร่วมกันพัฒนา OpenStack แล้วเปิดให้ใช้งานในฐานะ Open Source Cloud Platform เป็นที่เรียบร้อยแต่ทิศทางการเติบโตก็ยังไม่โตเท่าที่ควร หรือว่ากันง่ายๆคือยังไม่รู้ว่าอนาคตของ OpenStack จะไปจบที่ทิศทางไหนนั่นเอง

 

Brian Kirsch จาก  Milwaukee Area Technical College

ได้กล่าวไว้ว่า “Open source cloud creation platform อย่าง OpenStack มีขีดความสามารถทำอะไรได้มากและถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อ Cloud โดยเฉพาะบริษัท Hosting หรือจะคู่แข่งทางเทคโนโลยี หลายๆ บริษัทที่จะก้าวขึ้นเป็นที่ 1 ในด้านเทคโนโลยีล้วนต้องมีส่วนเกี่ยวข้องกับ OpenStack ไม่ว่าทางใดก็ทางหนึ่ง และตัว Platform ของ OpenStack เองถือว่ามีความโดดเด่นอยู่หลายด้านสำหรับ Open Source อย่างไรก็ตาม OpenStack ไม่ได้รับความสนใจในวงกว้างที่จริงแล้วมันเรียกได้เลยว่ามีคนนำไปใช้งานค่อนข้างน้อย เพราะจุดอ่อนข้อใหญ่ของ OpenStack คือยากต่อการติดตั้งและการใช้งาน ถ้าจะมีถามว่ายากในระดับไหน ก็คงตอบได้ว่าขึ้นอยู่กับพื้นฐานประสบการณ์และการฝึกฝนของผู้ใช้ ถึงแม้จะมี Online Guide ที่ค่อนข้างครอบคลุม แต่ก็ยังต้องการสารพัด Command Line ที่ถูกต้องอีกหลายขั้นตอน รวมทั้ง Input ต่างๆ สำหรับการติดตั้งและใช้งาน OpenStack และขั้นตอนซับซ้อนพวกนี้จะไม่ส่งผลอะไรกับฟีเจอร์ของ OpenStack แต่กระทบเข้าเต็มๆ กับอัตราการเลือกใช้งานในวงการ IT เราต้องการสร้างสิ่งที่ยิ่งใหญ่จากทรัพยากรจำนวนน้อย และการที่ต้องใช้คนกับเวลาจำนวนมากหมดไปกับการติดตั้ง OpenStack แลกกับการประหยัดงบประมาณของระบบปฏิบัติการสำหรับใช้งานบน Cloud ที่จริงแล้วมันเกิดความคุ้มค่าจริงเหรอ? ใครๆ ต่างก็อยากประหยัดค่า Lincense ด้วยการหันมาหา Open source กันทั้งนั้น แต่สุดท้ายแล้วมันจะเหมือนในของกรณี Linux สำหรับ Desktop ที่ทราบกันว่าผลสุดท้ายออกมาอย่างไร….

Brian Kirsch  ได้กล่าวไว้ว่า OpenStack นั้นยังไม่เหมาะสำหรับผู้ใช้งานทางด้าน ITเพราะมันควรจะจะง่ายต่อการใช้งาน ถ้า OpenStack  อยากจะเติบโตไปเป็นอนาคตของเทคโนโลยีจะต้องพัฒนาไม่ใช่การไปนั่งเขียนเอกสารอธิบายวิธีการใช้งานให้กับผู้ที่สนใจ

เพิ่มประสิทธิภาพให้องค์กรก้าวไกล ด้วย Private Cloud

อย่างที่หลายคนรู้ หรือได้ยินผ่านหูมาบ้างเกี่ยวกับ ระบบ Cloud Computing ว่าคือระบบที่ช่วยพวกเราจัดเก็บข้อมูลได้เป็นระเบียบ พร้อมทั้งมีความปลอดภัยสูง โดยผ่านผู้ให้บริการเกี่ยวกับ Cloud ที่เชื่อถือได้ แถมยังมีความเชี่ยวชาญ และระบบ Cloud เองยังมีหลายประเภทแยกย่อยออกไป ซึ่งเราจะหยิบยกมาคุยกันคือ Private Cloud ซึ่งคือหนึ่งในระบบ Cloud ที่เริ่มนิยมใช้กันมากขึ้น

Private Cloud คือ ระบบที่ทำงานอยู่บนระบบ Cloud และได้รับการบริหารจัดการโดยบริษัท เพื่อการใช้งานเพียงแค่ในองค์กรเท่านั้น ซึ่งผู้ให้บริการ และผู้ใช้บริการจะสามารถควบคุมและปรับปรุงในเรื่องของระบบความปลอดภัยได้ด้วยตนเอง ซึ่งถือว่าเป็นจุดเด่นอย่างหนึ่งของระบบ Cloud เลยก็ว่าได้

หากจะพูดถึงข้อดีของ Private Cloud ก็มีหลายอย่างด้วยกัน อาทิ การมีความปลอดภัยสูง เนื่องจากเป็นการจัดเก็บระบบข้อมูลที่เป็นความลับขององค์กร ทำให้มั่นใจได้ว่าข้อมูลไม่เกิดการรั่วไหล รวมไปถึงเรายังสามารถควบคุมระบบได้ง่าย ทั้งยังสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายให้อยู่ในขอบเขตที่ต้องการได้อีกด้วย

โดยในปัจจุบันมีหน่วยงานทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ที่ให้ความสนใจใช้บริการ Private Cloud นี้ เพราะสะดวกกับการจัดการข้อมูลจำนวนมหาศาลให้เป็นระเบียบมากขึ้น โดยที่สามารถโฟกัสกับงานหลักได้โดยไม่ต้องกังวลเรื่องข้อมูล ซึ่งจะส่งผลให้การทำงานภายในองค์กรมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

นอกจากนั้น Private Cloud ยังสามารถทำงานร่วมกับ Hybrid Cloud ที่ถือว่าเป็นระบบที่ผสมผสานระหว่าง Private Cloud และ Public Cloud เข้าด้วยกัน ทำให้เราสามารถทำงานเชื่อมต่อกันได้ทั้ง Private Cloud และ Public Cloud ซึ่งสามารถสลับไปมาตามความต้องการได้

เทคโนโลยีก้าวไกลขึ้นขนาดนี้แล้ว หากไม่อยากตกเป็นกลุ่มที่ล้าหลัง ก็ต้องหาตัวช่วยโดยการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีให้ได้มากที่สุด เพื่อความก้าวหน้าขององค์กร และประสิทธิภาพที่ดีขึ้นของบริษัท ซึ่ง Private Cloud ก็เป็นตัวเลือกหนึ่งที่ดีเช่นกัน